• หน้าแรก
  • อุปมาแก่นไม้กับแก่นธรรม
  • พระพุทธรูปยุคต่างๆ
  • เสียงธรรมคีตะ
  • สมุดเยี่ยม
  • ติดต่อเรา
ทำบุญตักบาตร รักษาศีล ฟังเทศน์ฟังธรรม ทุกวัน
๑.สามัคคีคือพลัง
            ความสามัคคีถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ในการพัฒนาประเทศเพราะถ้าคนใประเทศแตกแยกเป็นกลุ่ม 
เป็นฝักเป็นฝ่ายแล้วการพัฒนาก็จะไปไม่ทั่วถึง อาจจะไปถึงเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็จะทำให้ฝ่ายที่มีความเห็นต่าง
กันไม่ได้รับการพัฒนาฉะนั้น  เราจะต้องมีความสามัคคีกัน  เพื่อให้มีการพัฒนาทั่วถึง  ประเทศชาติของเราก็จะมี
ความเจริญรุ่งเรือง และมีความสุข ในทางพระพุทธศาสนามีหลักธรรม เพื่อปฏิบัติให้เกิดความสามัคคี คือ
            ๑. เมตตากายกรรม เพียรช่วยกันทำงานหรือภารกิจใดอย่างพร้อมเพรียงกัน โดยใช้เมตตาเป็นที่ตั้ง
          ๒. เมตตาวจีกรรม บอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ สังสอนแนะนำตักเตือนกันด้วยความหวังดีมีเมตตาต่อกัน
และกัน
          ๓.เมตตามโนกรรม ตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน
          ๔.สาธารณโภคี แบ่งปันสิ่งที่ได้มาโดยชอบธรรม  ให้ทุกคนมีส่วนร่วม ในการใช้สอย บริโภคทั่วกันไม่มัก
มากเห็นแก่ตัวและพวกพ้อง
          ๕.สีลสามัญญตา  มีความประพฤติสุจริตดีงาม ถูกต้องตามระเบียบวินัน ไม่ทำตนให้เป็นที่รังเกียจของ
หมู่คณะ
          ๖.ทิฏฐิสามัญตามีความเห็นชอบร่วมกันในข้อที่เป็นหลักการสำคัญที่จะนำไปสูการแก้ปัญหาหรือพ้นทุกข์  
๒. ฤกษ์ดียามดี
            คำว่าฤกษ์คียามดี ถือว่ามีอิทธพลในการดำเนินชีวิตของคนไทยมากพอสมควรจะเห็นได้ว่าตั้งแต่อดีตจน
ถึงปัจจุบันทุกครั้งที่จะทำอะไร ไม่ว่าจะสร้างบ้าน เปิดร้านค้า ทำบุญต่างๆ เราก็มักจะดูฤกษ์ดูยามกัน ดูแล้วดูอีก  
บางทีกว่าจะได้ฤกษ์ดีงานก็เสียไปก็มี แม้ แต่การบวชหรือการสึกพระก็ดูฤกษ์ดูยามเช่นเดียวกัน
            มีเรื่องอยู่เรื่องหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องจริง คือมีพระใหม่รูปหนึ่ง บวชมาก็ครบกำหนดวันสึก ก่อนที่จะสึกก็ไปดู
ฤกษ์ดูยามอย่างดีกว่าจะได้วันสึกเล่นเอาหลายวัน จนหงุดงิด ในที่สุดก็ได้วันสึกสึกแล้วก็ออกไปอยู่บ้านได้วันเดียว พอดีใกล้ๆบ้านเขามีงานและมีรำวงคณะคือในสมัยก่อนจะมีรำวง มีนางรำ ถ้าใครต้องการจะรำด้วย  ต้องซื้อบัตรจึงจะ
ได้รำ ทิฑสึกใหม่ก็ไปเที่ยวงานและซื้อบัตรรำวง  ในขณะที่รำอยู่ อย่างว่าพวกขี้เหล้าเมายาก็มีอยู่ จึงเกิดการทะเลาะ
ชกต่อยกันขึ้น ปรากฏว่า ทิฑสึกใหม่โดนลูกหลงจนหัวแตกเลือดอาบ ต้องไปนอนรักษาตัว
          จากเรื่องนี้พอที่จะเป็นเครื่องเตือนใจได้ว่า บางทีการที่เราดูฤกษ์ดูยามอย่างดี แล้วก็ยังไม่ช่วยเลย เพราะฉะนั้น เราต้องพิจารณาให้ดีอย่างเราจะเปิดร้านต้องดูทำเลและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมสมมติว่า เราจะเปิดร้าน
ดัดผมถ้าไปเปิดในประเทศอัฟริกา ถึงแม้ ว่าเราจะดูฤกษ์ดูยามดีอย่างไรก็คงไม่มีใครเข้าร้าน เพราะว่า ที่ประเทศ
อัฟริกา คนเขาผมหยิก ผมงออยู่แล้ว ไม่ต้องไปดัด แต่ถ้าเราไปเปิดร้านเยียดผม ทำให้ผมตรง ถึงแม้ไม่ได้ดูยาม คนก็
็เข้าร้านอย่างแน่นอน เพราะเขาอยากให้เส้นผมตรง
           ฉะนั้นเรื่องฤกษ์ยาม พระพุทธองค์ก็ได้ตรัสเอาไว้ว่า ใครก็ตามที่ประกอบสุจริต คือ กายสุจริต วจีสุจริต มในสุจริตในตอนใดก็ตามวันและเวลานั้นก็เป็นฤกษ์ดียามดี เช่นเราประกอบสุจริตทั้ง 3 เมื่อวาน เมื่อวานก็เป็นฤกษ์ดี
ียามดีประกอบวันนี้วันนี้ก็เป็นฤกษ์ดีประกอบเดี๋ยวนี้เดี๋ยวนีก็เป็นฤกษ์ดียามดีแต่ถ้าหากว่า เราดูฤกษ์ดูยามเพื่อความ
สบายใจ โดยที่การงานไม่เสียหาย เราก็ดูได้ แต่ถ้าเชื่อฤกษ์เชื่อยามแล้ว การงานดำเนินไปไม่ได้ หรือเสียหายเราก็ไม่
ต้องเชื่อ ทำไปได้เลย แต่ให้ทำทุกสิ่งทุกอย่างให้ดีที่สุด แล้วความสุขความเจริญก้าวหน้าจะตามมา
 ๓.  ชีวิตต้องสู้
            ชีวิตต้องสู่  ไม่ได้หมายถึง  ให้เราทั้งหลายหยิบอาวุธขึ้นมาต่อสู่กัน ทำร้ายกันแต่หมายถึงการดำเนินชีวิต  ที่ต้องสู่กับอุปสรรคนานาประการ อย่างในสังคมปัจจุบัน ค่าครองชีพก็แพง งานก็หาอยาก การเมืองก็มาวุ่นวาย บางคนถึงกับท้อแท้ในชีวิตก็อย่าพึ่งท้อแท้ ให้นึกว่า  ชีวิตคือการต่อสู่  ศัตรูคือยากำลัง อุปสรรคคือขวากหนามที่จะ
ต้องข้ามมันไป หมากรุก หมากฮอดเดินยังต้องคิด หมากชีวิตถ้าไม่คิดจะเดินได้ดีอย่างไร เราลองมองดูทะเล ทะเลนั้น
มันมีคลื่น บางครั้งลูกใหญ่ บางครั้งลูกเล็ก ชีวิตเราก็เหมือนกัน บางครั้งก็เจอคลื่น(อุปสรรค)ลูกใหญ่จนแทบทนไม่ไหว บางครั้งก็เจอคลื่นลูกเล็ก
            อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเราจะเจอคลื่นลูกใหญ่หรือลูกเล็ก เราต้องสู่ อย่าท้อแท้ เพราะความท้อแท้ ไม่ช่วยให้
สำเร็จประโยชน์ได้ความสำเร็จย่อมบำเรอคนใจเด็ดเท่านั้นถ้าเรายอมแพ้ก็จะต้องแพ้มันเลื่อยไปเหมือนคนติดยา
เสพติดถ้าปล่อยใจให้หลงไหลไปตามมัน ก็เท่ากับยอมแพ้ จะทำให้หลงไหลติดอยู่กับมันจนไม่สามารถแก้ไขได้ แต่ถ้า
ฮึดสู่ไม่ยอมแพ้ ไม่หลงไหลไปตามมัน ตั้งใจละทิ้ง สลัดออกไป มันก็จะหลุดได้อุปสรรคที่เราเจอนั้น  ตกอยู่ภายใต้ของ
หลักอนิจจัง คือ ไม่แน่นอน วันนี้มี อุปสรรค มีความทุกข์เดือดร้อน วันหน้าอาจไม่มี  ทำให้ชีวิตของเราราบรื่นมีความ
สุขก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นชีวิตต้องสู่ อย่ายอมแพ
๔. เมินเสียเถอะความทุกข์
            มนุษย์เรา โดยปกติจะมีทั้งความสุขและความทุกข์  ปะปนกันไป เหมือนคำที่ว่า บางครั้งก็เศร้า บางคราวก็สุข บางทีก็ทุกขหัวอกสะท้อน มีร้างมีรักมีจากมีจรพอจบละครชีวิตก็ลา แต่มนุษย์ทุกคนล้วนปรารถนา
ความสุข ไม่มีใครชอบความทุกข์ พระนักเทศน์ชอบแสดงว่า  ความสุขเป็นยอดแห่งปรารถนาของคนทั้งปวง ก็นับ
ว่าเป็นการแสดงที่ค้านไม่ได้เลย  ทำไมท่านจึงว่า ความสุขเป็นยอดแห่งความปรารถนา ก็เพราะว่า  ขึ้นชื่อว่าความ
ปรารถนาแล้ว มันไปสุดยอดที่ความสุข สุดตรงสุขนั้นเอง ไม่ว่าใครจะปรารถนาอะไร ปรารถนาจะนั่ง ก็ขอให้ได้นั่ง
เป็นสุข ปรารถนาจะนอน ก็ขอให้ได้นอนเป็นสุข ปรารถนาจะกิน ก็ขอให้ได้กินอย่างเป็นสุข คือมันไปสุดยอดที่สุข
ชั้นที่สุด แม้จะเข้าตะรางก็ยังขอให้ได้อยู่เรือนขังที่สุขสบาย หรือแม้จะตาย ก็ขอให้ตายอย่างเป็นสุข
          ฉะนั้นคนเราจึงปรารถนาความสุขแต่พื้นเพของชีวิตจริงๆคือความทุกข์ ไม่ใช้ความสุข ความทุกข์เป็นพื้น เป็นของเดิม ส่วนความสุขเป็นของจร เป็นของมาใหม่  หาได้ทีหลัง พระพุทธองค์ก็ตรัสถึงพฤติการของมนุษย์ว่า สังสารทุกข์ แปลตรงตัวว่า ท่องเที่ยวอยู่ในทุกข์ แต่การที่เราได้พบเห็นความสุข หัวเราะได้ในบางขณะนั้น เพราะ
ความสามารถของเรา คือสามารถดับความทุกข์ลงได้เป็นคราวๆเปรียบให้เห็นที่ว่า  ชีวิตมีความทุกข์เป็นพื้นนั้น เหมือนกับโลกนี้มีความมืดเป็นพื้น คือสภาพของโลกแท้ๆ ที่เรียกว่าพื้นเดิมของโลกจริงๆ คือความมืดไม่ใช่ความสว่าง
แต่ที่เราได้พบแสงสว่าง ก็เพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาทำลายความมืดลง เราก็ได้พบแสงสว่างปริมาณเท่ากับความมือ
ที่ถูกทำลายลง เช่น  เวลากลางคืนความมืดมันหุ้มตัวเราหมด ถ้าเราขีดไม้ขีดขึ้น เราก็พบแสงสว่าง เท่าที่แสงไฟจาก
ก้านไม้ขีดจะทำลายความมือลงได้ หรือพอพระอาทิตย์ขึ้นมาทำลายความมืดเสีย  เราจึงได้พบแสงสว่าง พอหมด
แสงอาทิตย์ ความมืดก็เล่นงานเราอีก
            ฉะนั้น การที่เราจะทำให้ความทุกข์เมินห่างไปจากเรา ก็เหมือนกับการที่พระอาทิตย์ขึ้นมาทำลายความมืด
ของโลก วิธีการดับทุกข์หรือทำความทุกข์ให้เมินห่าง ไป จากเรานั้นมี 3 ชั้นคือ
            1. ต้องยอมรับว่านั่นเป็นทุกข์ คือ เมื่อท่านประสบความทุกข์ไม่ว่ามันจะเป็นทุกข์เพราะเรื่องอะไรก็ตาม   ท่านจงจำไว้ว่า ชั้นแรกจริงๆ เราจะต้องยอมรับทุกข์นั้นคือยอมรับว่า นี้เป็นทุกข์ พิจารณาให้เห็น  ด้วยใจจริงของตน
เองว่ามันเป็นทุกข์จริงๆ ทุกข์แน่ๆ เพราะว่าความทุกข์เป็นเรื่องที่มีอยู่จริง เช่น หิวก็เป็นทุกข์ ร้อนก็เป็นทุกข์ หนาว
ก็เป็นทุกข์เป็นต้น เหมือนอย่างเราทำกิจการงานต่างๆเราทำด้วยความพากเพียร ความอดทนอย่างเต็มที่แล้ว แต่ผลที่
ออกมากับสู่คนอื่นไม่ได้ ก็ขอให้ยอมรับตัวเองว่าเรามีความสามารถเท่านี้ทำได้เท่านี้ก็ดีแล้ว เมื่อเรายอมรับอย่างนี้ก็จะ
ทำให้เราสบายใจมีความสุข แต่ถ้าเราไม่ยอมรับก็จะทำให้ไม่สบายใจมีความทุกข์ได้  
            2. ต้องสาวหาสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์นั้น หมายความว่า เราค้นย้อนหลังไปดูว่าความทุกข์ที่กำลังเล่นงาน
เราอยู่นั้นมันเกิดจากอะไร ทัศนะของพระพุทศาสนา ถือว่าความทุกข์ต่างๆ ที่คนเราเผชิญอยู่ทุกวันนี้ เป็นผลที่งอก
ออกมาจากเหตุ มีเหตุให้เกิดทุกข์ ทุกข์จึงเกิดขึ้น
            ฉะนั้นการแก้ทุกข์ต้องแก้ให้ถูกที่  คือแก้ที่เหตุ  ไม่ใช่แก้ที่ผล คล้ายๆ กับเรามี มะม่วงอยู่ต้นหนึ่ง เวลามัน
ออกลูกมา มันเป็นมะม่วงเปรี่ยวกินไม่ได้เราเกลียดมันเหลือเกิน ไม่อยากให้มันออกลูก เราจะทำอย่างไร จะเอาผ้าไป
เที่ยวพันกิ่งมันเอาไว้ ไม่ให้ลูกมันออกได้ไหม ก็ไม่ได้ เราเอาผ้าพันไว้ มันก็ออกในผ้า เอาดินหุ้มไว้มันก็ออกมาในดิน
เพราะมันเป็นการแก้ที่ผล แล้วเราจะทำอย่างไร วิธีก็คือ ถือเอาขวานเล่มหนึ่งไปจามลงที่โคนต้น ต้นมันก็ตาย ลูกมันก็
็ออกไม่ได้ วิธีแก้ทุกข์ก็เหมือนกัน อย่าลืมว่าเราต้องแก้ที่เหตุ
            3. ต้องแก้ให้ถูกวิธี  เมื่อเรารู้เหตุแห่งทุกข์นั้นแล้วจะต้องแก้ให้ถูกวิธี ถ้าแก้ผิดวิธี มันทุกข์ไม่หาย เหมือน
เรามีหม้อหลายลูกอยู่รวมกัน ฝาก็กองอยู่รวมกัน ถ้าหากเราเอาฝาหม้อลูกใหญ่ไปปิดลูกเล็ก  มันก็ปิดไม่ได้เพราะมัน
ใหญ่เกินไป  ถ้าเราเอาฝาหม้อลูกเล็กไปปิดลูกใหญ่ ก็ปิดไม่ได้ เพราะมันหลวม สมมุติว่า คนเล่นการพนันแก้จน  กินเหล้าแก้กลุ่มหรือด่าแก้โกรธอะไรเหล่านี้ ไม่มีทางที่จะทำให้ทุกข์หมดสิ้นไป เพราะเราแก้ผิดวิธีผลกลับจะปรากฏว่า
ยิ่งเล่นการพนัน มันก็ยิ่งจน ยิ่งดื่มเหล้ามันก็ยิ่งกลุ่ม ยิ่งด่าเขาใจเรายิ่งเดือดดาลกลายเป็นเรื่องเพิ่มทุกข์ให้มันหนักเข้า
ไปอีก ที่จริงเมื่อเราจน  เราต้องมีความขยันหมั่นเพียรเพิ่มขึ้นใช้สติ ปัญญา หาจังหวะเวลาและโอกาสที่เหมาะสมใน
การประกอบอาชีพนั้นๆ ก้จะทำให้เรา คลายทุกข์เพราะจนลงไปได้ หรือถ้าเราเป็นคนขี้โกรธ ทางธรรมท่านให้เจริญ
เมตตาการเจริญเมตตานี้ต้องเจริญบ่อยๆเจริญอยู่เป็นประจำจึงจะได้ผล ถ้าไปเจริญตอนโกรธอาจไม่ทันการที่กล่าวมา
นี้เป็นเพียงตัวอย่าง ฉะนั้นเมือทุกข์เกิดขึ้นก็ให้ใช้หลักการดังกล่าวมานี้ก็จะทำให้ทุกข์เมินห่างไปจากเราได้

                                                    ( หลักการดังกล่าวมานี้ที่จริงก็คือหลังของอริยสัจสี่นั่นเอง )
๕. ลอยบาป
            วันเพ็ญเดือนสิบสอง (วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12) มีประเพณีสำคัญของไทยอีกประเพณีหนึ่งคือ ประเพณีลอย
กระทง โดยมีคติความเชื่อหลายอย่าง เช่น เพื่อเป็นการขอขมาพระแม่คงคา หรือเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท เป็นต้น
            ความเชื่อเกี่ยวกับการลอยกระทงอีกอย่างหนึ่ง คือ เพื่อลอยบาป โดยศาสนาต่างๆจะมีความเชื่อแตกต่าง
กันไป เช่นศาสนาพรหามณ์-ฮินดู มีความเชื่อว่า บาปที่ ทำแล้วอาจแล้วลอยเสียได้ด้วยการอาบน้ำ  เช่นเดียวกับชำระ
มลทินกายด้วยการอาบน้ำตามปกติ ศาสนาคริสต์ถือว่า  อ้อนวอนพระเจ้าเพื่อโปรดประทานยกโทษได้อยู่ เช่น
เดียวกับพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานอภัยโทษแก่คนผู้ทำผิดให้พ้นพระราชอาญาส่วนพระพุทธศาสนาถือว่าทำบาป
เองย่อมเศร้าหมองเอง ไม่ทำบาปเองย่อมหมอจดเอง ความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์เป็นเรื่องเฉพาะตัว ไม่มีใครจะไถ่บาป
ให้ใครได้ สิ่งที่ทำแล้วเป็นบาป คือ อกุศลกรรมบถ 10 ได้แก่
            1. ฆ่าสัตว์  เช่น  ฆ่าคน  ยิงนกตกปลา  รวมถึงทรมานสัตว์ กัดปลา ชนไก่ ทำร้ายร่างกายเป็นต้น
            2. ลักทรัพย์ เช่น ลักขโมย ปล้น ฉ้อโกง หลอกลวง คอรัปชั้น
            3. ประพฤติผิดในกาม เช่น เป็นชู้ ฉุดคร่า อนาจาร
            4. พูดเท็จ เช่น พูดโกหก พูดเสริมความ พูดอำความ ทำหลักฐานเท็จ
            5. พูดส่อเสียด เช่น พูดยุยงให้เขาแตกกัน ใส่ร้ายป้ายสี
            6. พูดคำหยาบ เช่น ด่า ประชด แช่งชักหักกระดูก ว่ากระทบกระแทก
            7. พูดเพ้อเจ้อ เช่น พูดพล่าม พูดเหลวไหล พูดโอ้อวด
            8. คิดโลภมาก เช่น อยากได้ในทางทุจริต เพ่งเล็งทรัพย์คนอื่อน วางแผนทุจริต
            9. คิดพยาบาท เช่น คิดอาฆาต คิดแก้แค้น คิดปองร้าย
            10. คิดเห้นผิด   เช่น เห็นว่าบุญบาปไม่มี เห็นว่าบิดามารดาไม่มีพระคุณ เห็นว่า ตายแล้วสูญ เห็นว่ากฏ
แห่งกรรมไม่มี
             วิธีลอยบาป  หรือชำระบาปได้  ตามคติพระพุทธศาสนา  ก็คือ  การงดเว้นจาก ความชั่วทุกอย่างนั่นเอง ได้แก่การไม่ทำความชั่วทางกาย วาจา และใจ ต้องฝึกจิตใจให้มีหิริ คือละอายแก่ใจที่จะทำความชั่ว และมีโอตตัปปะ คือสะดุ้งกลัวต่อผลของความชั่ว อานิสงส์การงดเว้นบาป มีมากมาย เช่นทำให้เป็นคนไม่มีเวร ไม่มีภัย ทำให้เกิด
มหากุศลตามมา ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน ทำให้เป็นผู้ไม่ประมาท  ทำให้เกิดศรัท ธาในพระพุทธศาสนามาก
ยิ่งขึ้น ทำให้จิตใจผ่องใสพร้อมที่จะรองรับคุณธรรมขั้นสูงต่อไป
             การลอยกระทง เป็นพระเพณีที่ดีงามมาแต่โบราณของชาวไทย แม้จะมีจุดประสงส์เพื่อสิ่งใดก็ตามสิ่ง
สำคัญนอกเหนือจากการรักษาประเพณีวัฒนธรรมเอาไว้แล้วก็ควรตระหนักถึงคุณค่าของชีวิต ด้วยการตั้งจิตอธิษฐาน
ที่จะละเว้นหรืองดเว้นจากความชั้วทุกชนิด พร้อมเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยการทำแต่ความดีเมื่อทำได้เช่นนี้จิตใจจะสะอาด
บริสุทธิ์จาดกิเลสเครื่องเศร้าหมอง ชิวิตก็จะพบแต่ความสุขสดชื่นอย่างแท้จริง